เจาะลึกใช้ Stacked Chart เล่าข้อมูลแบบเฉียบขาด!

 

ปกติแล้ว Stacked Chart เป็นกราฟแท่งที่ใช้แสดงข้อมูลของสัดส่วนที่เปลี่ยนไปตามช่วงเวลา ซึ่งไม่เพียงเอาใช้ผลทางธุรกิจได้อย่างเดียวเท่านั้น แต่ในแง่มุมเกี่ยวกับ Data Analysis อื่นๆ ตัวกราฟ Stacked Chart ถือเป็นตัวช่วยได้ดีทีเดียว  ในบทความนี้เราจะมาเล่าเกี่ยวกับ Stacked Chart กันต่อ เราจะใช้ Stacked Chart ในเล่า Data ในแต่ละแง่มุมได้อย่างไร พร้อมทริคใช้สีปังๆ 3 แบบให้คนเห็นแล้วรู้เรื่องภายใน 5 นาที มาดูกันเลย!

Case 1 : วัดสัดส่วนประชากรในแต่ละเมือง 

 

 

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีข้อมูลจำนวนประชากรอยู่ 4 ย่านในอเมริกา ได้แก่ รัฐ Queen , รัฐ Bronx , รัฐ Brooklyn ซึ่งในแต่ละปีจำนวนประชากรจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ (ในปี 2000 , ปี 2010 และปี 2020) โจทย์คือในตารางแบบนี้ จะทำยังไงให้กลายเป็นภาพแล้วเข้าใจง่ายที่สุด! เราสามารถเปลี่ยนให้เป็น Stacked Chart ได้

 

 

ในรูปกราฟข้างบนจะเห็นว่า รัฐ Brooklyn (สีส้ม) มีสัดส่วนของคนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป

Case 2 : วัดความพึงพอใจเกี่ยวกับวิชาที่เรียน

 

 

ในเคสของโรงเรียนติวเตอร์แห่งหนึ่ง ที่ต้องการวัดความพึงพอใจของคนที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ อยากรู้ว่า ก่อนเรียน VS หลังเรียน นักเรียนชอบวิชานี้มากขึ้นมั้ย? เรามาดู Stacked Chart ไปพร้อมกันเลย

 

 

ในรูปจะเห็นว่า กราฟสีเทาจะวัดความไม่พึงพอใจและกราฟสีฟ้าจะวัดความพอใจและความตื่นเต้นที่ได้เรียนวิชานี้ จะเห็นว่า กราฟหลังเรียนสัดส่วนของสีฟ้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น นั่นแปลว่า หลังจากเรียน คนเบื่อวิชาวิทยาศาสตร์น้อยลง

Case 3 : วัดประสิทธิภาพการทำงานของทีม 

 

 

ตัวอย่างในเคสของ Project Manager ที่ต้องการวัดผลการทำงานของลูกน้องในทีม แล้วอยากติดตามว่า Project งานที่ลูกน้องดูแลดูไปถึงไหนแล้ว กราฟ Stacked Chart สามารถนำมาใช้ในเคสนี้ได้เช่นกัน 

 

 

เริ่มจากการจำนวนเส้นกราฟเป็นแต่ละเฟส (หรือ Step) และให้เลือกว่าแต่ละเฟสแทนด้วยสีอะไร จากรูปข้างบน เราจะแบ่งงานนี้เป็น 3 เฟส ได้แก่ เฟสสีฟ้า แปลว่าเก็บเงินลูกค้าได้ เฟสสีเทาเข้ม แปลว่าได้รับ Order จากลูกค้า และเฟสสีเทาอ่อน แปลว่า ลูกค้าเริ่มสั่งของ 

ทุกโปรเจคจะมีระยะเวลาทั้งหมด 9 สัปดาห์ ให้เราเอา Stacked Chart มาวางไว้ตรงกลาง โดยแยกตามชื่อโปรเจคที่ลูกน้องดูแลอยู่ จะทำให้เห็นภาพรวมว่าลูกน้องแต่ละคนทำงานไปถึงข้างตอนไหนแล้ว และส่วนล่างให้วางกราฟ Stacked Chart  ที่สุดสัดส่วนทั้งหมดว่าแต่ละเฟส ว่าทำเสร็จไปแล้วกี่เปอร์เซ็นต์ วิธีนี้จะช่วยให้ Project Manager เห็นภาพรวมการทำงานของลูกน้องและติดตามได้ว่าใครทำเสร็จไปแล้วมาก-น้อยแค่ไหน 

การใช้กราฟ Stacked Chart เล่าข้อมูล Data (Storytelling with data) สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายแบบ แต่อยากสิ่งที่อยากเน้นย้ำคือ Stacked Chart เหมาะกับข้อมูลที่แสดงเป็นสัดส่วนมากกว่า  จะเห็นว่าอย่าง 3 เคสที่เรายกมา ยังคง Concept เดิมที่เกี่ยวกับสัดส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปในทุกเคส เพียงแต่ประเด็นสัดส่วนที่หยิบมาเล่าแต่แตกต่างกันไป หวังว่าทุกคนจะเอาเทคนิค Storytelling with data ที่เอามาฝากกันวันนี้ไปใช้เล่า Data ให้สนุกขึ้นนะ

ดูคลิปเต็มๆได้ที่ :  https://youtu.be/zQzBMGD6Afc  

#DataVisualization #DataAnalysis #StorytellingwithData

 

 

Recommended Articles

Menu