รวมเทคนิค Data Visualization ใช้ภาพเล่า Data ให้เข้าใจง่ายขึ้น

Big Data เป็นเรื่องของข้อมูลจำนวนมากมหาศาล มีความรวดเร็วและเปลี่ยนไปไวอยู่เสมอ ในหลายๆองค์กรมีข้อมูลจำนวนมาก แต่ไม่รู้ว่าจะเอาข้อมูลมาใช้ประโยชน์อย่างไรดี วันนี้เรามีเทคนิคทำ Data Visualization ด้วยภาพแบบที่เข้าใจง่ายมาบอกกัน แค่มองกราฟออก ก็ช่วยให้คุณตัดสินใจโดยใช้ Data ได้แม่นยำขึ้น

เทคนิคที่ 1 : ใช้สีเข้มและตัวหนาบนกราฟเส้นที่ต้องการเน้น

 

ยกตัวอย่างเคส  กราฟเส้น Business Analysis แสดงยอดเงินที่ระดมทุนสำหรับผลิตสินค้าใหม่ในช่วงเวลา 10 ปี ซึ่งถ้าเราอยากเน้น ตัวเลขมูลค่าเงินระดมทุนของผลิตภัณฑ์ในช่วง 3 ปีแรก ให้ใส่คำอธิบายในปีที่เน้น ทำตัวหนังสือให้มีสีเข้มและเพิ่มความหนาของเส้นกราฟขึ้น ส่วนกราฟที่ไม่เน้นมาก ให้ใช้เป็นสีเทาหรือสีดำแทน

เทคนิคที่ 2 : ใช้เส้นประบนกราฟเส้น ที่คาดการณ์แนวโน้มอนาคต

 

ยกตัวอย่างกราฟเส้นยอดขายสินค้า ที่มีการคาดการณ์แนวโน้มยอดขายอนาคต (ในช่วงปี 2565 – 2567) ภาพด้านบน จะเห็นว่าเส้นกราฟยอดขายในอนาคต มีการทำเป็นเส้นประ วิธีนี้จะช่วยให้คุณเห็นแนวโน้ม Trend ในอนาคตชัดเจนขึ้นได้ว่า ยอดขายจะเติบโตแค่ไหน นอกจากนี้ ยังควรใส่ข้อมูลวิเคราะห์เพิ่มด้วยว่า ทำไมถึงมียอดขายเพิ่มขึ้นและตกลงแต่ละปี เทคนิคนี้ จะช่วยให้คนอ่านกราฟ เข้าใจถึงสาเหตุหลักๆ ที่กระทบต่อยอดขายโดยตรง

 

 

อีกหนึ่งเคสกราฟแสดงยอดขายของหนังสือแบบ E-learning และหนังสือ E-Book เทียบกัน จะเห็นว่ามีการตัดตัดของเส้นกราฟ ซึ่งแปลว่า มีการเปลี่ยนผู้แพ้ผู้ชนะ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายอดขาย ตรงนี้คนทำข้อมูล ควรชี้ประเด็นให้เห็นด้วยเช่นกันว่าทำไมตัวเลขถึงขึ้นและลงในละช่วง เป็นเพราะสาเหตุอะไร

เทคนิคที่ 3 : ใช้กราฟ Stacked Chart แสดงสัดส่วน (%) ที่เปลี่ยนไปตามกาลเวล

 

 

Stacked Chart เป็นกราฟที่เหมาะกับการเล่า Data ส่วนแบ่งที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ยกตัวอย่างในเคส กราฟแสดงข้อมูลตรวจสอบสภาพสินค้า Product A , Product B และ Product C ในแต่ละเดือน ในเส้นกราฟสินค้าที่ต้องการเน้น ควรทำให้เป็นสีเด่นและติดพื้นกราฟ เหมือนกับภาพนี้ที่เราเน้นสินค้า Product A เป็นหลัก

 

 

อีกหนึ่งเคสที่เป็น Data Analysis แสดงสัดส่วน (%) ของคนที่สอบผ่าน VS ไม่ผ่านในแต่ละไตรมาส จะเห็นว่า สัดส่วนของคนที่สอบผ่านเป็นที่เราเน้นกัน จึงทำเป็น Stacked Chart โดยวางตำแหน่งกราฟของคนที่สอบผ่านไว้ด้านล่างสุดแล้วใช้สีสีเด่น

เทคนิคที่ 4 :  ใช้กราฟ Stacked Chart แสดงสัดส่วน (%) ที่เพิ่มขึ้นและลดลง

 

นอกเหนือจากการเน้นข้อมูลสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นแล้ว หากเราอยากเน้นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น ลดลงในแต่ละช่วงเวลา สามารถใช้ กราฟ Stacked Chart อธิบายเรื่องนี้ได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างกราฟที่แสดงข้อมูลคนเข้า-ออกในบริษัทแห่งหนึ่งในแต่ละช่วง เมื่อทีม HR ต้องการสำรวจสถิติคนเข้าออกในบริษัท

สิ่งที่ทีม HR อยากรู้คือ มีคนเพิ่มขึ้นและลงในแต่ช่วงอย่างไร? 

 

เราเลยนำข้อมูลมาสรุป Data Visualization แบบเข้าใจง่าย โดยเริ่มจาก เน้นจำนวนคนที่ลดลงเป็นสีเด่น วางติดกราฟแล้วใส่ตัวเลข Label จากนั้นให้ค่อยๆไล่หาสาเหตุหลักๆว่า ทำไมคนถึงลดลงและลดลงไปกี่คน อย่างในเคสนี้คือ คนส่วนใหญ่ลาออก จึงทำเส้นกราฟด้านล่างเป็นสีอ่อนลงมา เพื่อดึงความสนใจให้คนอ่านกราฟ

 

 

ต่อมาถ้าอยากรู้ว่ามีคนมาสมัครงานในบริษัทเพิ่มกี่คน แนะนำให้ทำเป็นเส้นกราฟพร้อมใช้สีเด่น และเมื่ออยากรู้จำนวนคนที่บริษัทยังขาดอยู่ ให้ทำเป็นช่องว่างแทน ช่องโหว่งส่วนนี้ทำให้ทีม HR คาดการณ์ได้ว่าควรเปิดรับสมัครคนทำงานประมาณกี่คน

ทำ Data Visualization หรือเล่าข้อมูลจำนวนมากๆด้วยภาพ เป็นเรื่องที่ง่ายดายมากขึ้น ถ้าเราเลือกประเด็นข้อมูลและเรื่องที่ต้องการเน้นได้ถูกจุด อย่าลืมเอาเทคนิคเหล่านี้ไปใช้กันดูนะ เราหวังว่าเรื่อง  Storytelling with data ที่เอามาฝากกันวันนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคน

ดูคลิปเต็มๆได้ที่นี่ : https://youtu.be/mlYOLVJnMWk

#DataVisualization #DataAnalysis #StorytellingwithData

Recommended Articles

Menu