McKinsey บริษัทที่ปรึกษาเบอร์ 1 ของโลก ผู้อยู่เบื้องหลังการปรับโครงสร้างของบริษัทชั้นนำหลากหลายแห่ง กับชื่อเสียงด้านความหินในการรับสมัคร candidate ที่โดดเด่น มีไหวพริบ มีกระบวนการคิดอย่างมีระบบ และที่สำคัญ… การอธิบายเรื่องยากให้เข้าใจง่าย
-
สร้าง Chart นำเสนองานทั้งที รู้ก็รู้ว่าต้องใส่แค่ข้อมูลที่จำเป็น แต่ก็อัดแน่นจนอ่านยากไปหมด
วันนื้ BetterPitch จะพามาไขข้อสงสัยพร้อมเรียนรู้ “ไข 5 เทคนิค Storytelling ด้วย Chart แบบ McKinsey” เพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
—
– ลักษณะ Waterfall Chart มีการแสดงความสัมพันธ์ของสองตัวเลข (ตัวเลขจาก 2020 total employment ไปสู่ 2030 employment targets both lower and upper target)
– การตั้งชื่อหัวข้อ: ตั้งชื่อ chart โดยบอกไปเลยว่าต้องการให้ผู้อ่านสนใจสิ่งใด (India needs to create at least 90 million more than nonfarm jobs by 2030.)
– ความเรียบง่ายของการใช้สีใน chart ซึ่งสามารถแสดงถึงความแตกต่างได้อย่างชัดเจน และเรียบง่าย
– การเลือกใส่ตัวหนา (bold) ในข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งเป็นรายละเอียดที่มีความสัมพันธ์กับหัวข้อ
– การใส่แหล่งข้อมูลบริเวณหมายเหตุ (ด้านล่างของ chart) นี่เป็นสิ่งที่จะเห็นได้เสมอในบริษัทที่ปรึกษาใหญ่ระดับโลก เพื่อ Support main idea สำหรับผู้บริหาร
– ลักษณะของแผนภูมิแท่ง 3 แผนภูมิที่นอกจากจะสามารถแสดงข้อมูลของตัวคอลัมน์นั้นได้ดีแล้ว ยังเป็นการแสดงความสัมพันธ์ของแต่ละแผนภูมิ
– การตั้งชื่อหัวข้อ: เนื่องจาก chart นี้มีการแสดงข้อมูลตัวเลขค่อนข้างมาก การตั้งชื่อหัวข้อแบบเจาะจงจะทำให้ผู้อ่านรับรู้ได้ว่าต้องให้ความสนใจที่สิ่งใดเป็นพิเศษ (India’s GDP could expand at “8.5” percent per year, with a sharp rise in jobs and sustained productivity; the lo-growth path implies negligible job creation.) วงกลมบนภาพ*
– การเลือกใช้สีเพื่อเน้นย้ำความสำคัญ: คอลัมน์เดียวที่มีการลงสีคือ ส่วนท้าย (ซึ่งเน้นย้ำว่าสำคัญที่สุด), คอลัมน์ด้านซ้าย-สีดำ (เน้นจุดเด่นรองลงมาจากสีสันจัดจ้าน) คอลัมน์ตรงกลาง-สีอ่อน (เลือกใช้โทนสีที่ให้มีความโดดเด่นน้อยที่สุด)
– การใส่แหล่งข้อมูลบริเวณหมายเหตุ (ด้านล่างของ chart) นี่เป็นสิ่งที่จะเห็นได้เสมอในบริษัทที่ปรึกษาใหญ่ระดับโลก เพื่อ Support main idea สำหรับผู้บริหาร
– ลักษณะเปรียบดังแผนภูมิแท่งที่แสดงข้อมูลในหลายมิติ และเป็นหนึ่งใน chart ที่ผู้ปรึกษาส่วนมากเลือกใช้
– การตั้งชื่อหัวข้อ: ตั้งชื่อด้วยการสะท้อนข้อมูลตัวเลขของทั้งสามคอลัมน์ได้อย่างดีเยี่ยม
– มีการแสดงสัดส่วนของภายในแต่ละคอลัมน์ต่อคอลัมน์ทั้งหมด เช่น คอลัมน์สีดำบนสุด (Globally competitive manufacturing hubs)
-การแสดง Mekko chart ได้สะท้อนถึงโอกาสทางธุรกิจประเภทต่างๆ ที่ทำให้เกิดการเติบโตภาคเศรษฐกิจ
และนี่เป็นการแสดงให้เห็นว่า การเลือก chart ให้เหมาะสมกับข้อมูลมีความสำคัญเพียงใด
“ Charts are not meant to make you look smart, they’re meant to help your audience better understand your message. ” – Analyst Academy
– ลักษณะการแสดงแผนภาพได้ดีในกรณีที่มีข้อมูลตัวเลขน้อยมาก และต้องการแสดงข้อมูลให้ง่ายต่อสมอง และน่าดึงดูดด้วย Bubble Chart
– นอกจากนั้นยังมีการแสดงผลผรวมของตัวเลขไว้ในแต่ละ bubble ซึ่งช่วยให้เข้าใจมาตราส่วนและความสัมพันธ์ของแต่ละ bubble ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
– ข้อผิดพลาดที่พบเห็นได้บ่อยในการใช้ Bubble Chart คือตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องว่ามีการปรับขนาดพื้นที่ทั้งหมดตามพื้นที่ของวงกลม ไม่ใช่ตามรัศมีของวงกลม
– การตั้งชื่อหัวข้อ: เนื่องจาก chart นี้มีการแสดงข้อมูลตัวเลขและเส้นจำนวนค่อนข้างมาก การตั้งชื่อที่มีการระบุรายละเอียดอย่างชัดเจนจะเป็นการสื่อสารทางตรงกับผู้อ่านว่าควรให้ความสนใจไปที่สิ่งใดก่อน(Just 2 percent of India’s state-owned enterprises have the potential to yield as much as 80 percent of total value from privatization.)
– แบ่งแผนภูมิออกเป็นสองส่วน: ส่วนที่แสดงข้อมูลบรรทัดบนสุด (“India has about 1,900 state-owned enterprises, of which…”) และส่วนที่แสดงข้อมูลบรรทัดล่าง ซึ่งอธิบายดังนี้ (how 400 of the state-owned enterprises could represent $140 billion in book value, yielding $540 billion in proceeds, across 10 different sectors.)
– chart มีการแสดงรายละเอียดของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเช่น (คอลัมน์ด้านซ้ายสุด: 400 potentially privatized SOEs มีการแสดงเป็น 21% ในคอลัมน์สีฟ้า)
– ข้อมูลสำคัญของกราฟนี้คือ การแสดงให้เห็นว่าผลกระทบใดที่มาจาก 2% of all state-owned enterprises that would potentially be privatized ซึ่งเราสามารถเห็นได้จากการตั้งชื่อหัวข้อของ chart ได้อย่างดีเยี่ยม
– การแสดงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมุ่งเน้นจุดสนใจไปที่ส่วนสำคัญที่สุดของ chart และการแสดงความสัมพันธ์กันของข้อมูลทั้งบรรทัดด้านบนและด้านล่างของ chart ได้อย่างดีเยี่ยม
– มีการแสดงข้อมูลของ Stacked Column chart ได้อย่างน่าสนใจและย่อยง่ายเหมือนกำลังมองภาพ visual ภายใต้ข้อมูลที่ซับซ้อนและมากมาย
เพราะจุดประสงค์หลักของการสร้าง chart ที่ดีคือ เพื่อแสดงข้อมูลที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่าย ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้ chart อย่างถูกต้อง การตั้งชื่อหัวข้อ การเลือกใช้โทนสีเพื่อดึงความสนใจไปในส่วนที่สำคัญ ซึ่งช่วยคุณในการ pitch งานและเป็นการเพิ่มเม็ดเงินภายในองค์กรของคุณในที่สุด
และนี่คือเทคนิคลับสร้าง Chart สมบูรณ์แบบฉบับ McKinsey บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกซึ่งได้รับความเคารพและนับถือจากหลายร้อยองค์กรยักษ์ทั่วโลก !
…
Source Information:
https://www.careervisaassessment.com/mckinsey/
https://www.mckinsey.com/…/indias-turning-point-an…
https://en.wikipedia.org/wiki/McKinsey_%26_Company
https://www.mckinsey.com/about-us/overview