โดย Gleb Tsipursky จากนิตยสาร Entrepreneur Asia-Pacific
ผลสำรวจของ Slack ในเดือนมกราคม 2022 พบว่าความกังวลอันดับต้นๆ ของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการและหัวหน้าในการทำงาน Hybrid และ Remote work คือ Proximity Bias มีจำนวนกว่า 41% รู้สึกกังวลใจในวัฒนธรรมของการทำงานที่ไม่เท่าเทียมกันในรูปแบบ Office-centric, Hybrid หรือ Fully Remote
2 ใน 3 ของพนักงานส่วนมากเลือกที่จะทำงานในรูปแบบ hybrid การให้ความยืดหยุ่นต่อพนักงานในการทำงานคือหัวใจพื้นฐานซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจการลาออกของพนักงาน จากผลสำรวจพบว่าจำนวนสัดส่วนถึง 72% ไม่ค่อยพึงพอใจต่อสภาพการทำงานที่ไม่ยืดหยุ่นและมีความเป็นไปได้ที่จะมองหางานใหม่ในปีหน้า
การสร้างวัฒนธรรม “Excellence from Anywhere (ความเป็นเลิศจากทุกที่)” คือกลยุทธ์ชิ้นสำคัญที่จะนำพาผู้นำทั้ง 17 องค์กรหลักไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันในการทำงานแห่งโลกอนาคต ผู้นำที่ไม่ได้ปรับกลยุทธ์ไปใช้และยังคงดึงดันที่จะใช้กลยุทธ์ในรูปแบบเดิมๆ ไม่เปิดรับมุมมองหรือการปฏิบัติใหม่ๆ สุดท้ายอาจจะเปรียบดั่งปลาที่ไม่มีแม้แต่น้ำจะให้ว่ายวน
องค์กรส่วนมากยังมีความจำเป็นในการให้พนักงานเข้ามาทำงานในรูปแบบ full time ตัวอย่างเช่น หนึ่งในลูกค้าของฉัน (บริษัทผู้ผลิตเทคโนโลยี) ซึ่งมีพนักงานมากกว่า 25,000 คน มีพนักงานจำนวนมากที่ต้องการทำงานในพื้นที่ส่วนของบริเวณโรงงาน นักค้นคว้าวิจัยและฝ่ายพัฒนายังสามารถคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้นเมื่อได้เข้าถึงหรือมีการหยิบจับเครื่องมือของบริษัท หรือการเข้ามาทำงาน 1 ครั้งต่อสัปดาห์เพื่อให้มีการร่วมมือกันระหว่างทีมในรูปแบบ hybrid หรือบางกลุ่มที่สามารถทำงานรูปแบบ full-time remoted ได้ในช่วง pandemic
ป้องกัน Proximity Bias เพื่อการทำงาน Hybrid & Remote Work อย่างมีประสิทธิภาพ
-
Working Culture: การแบ่งปันแนวคิดวัฒนธรรมความเป็นเลิศจากทุกที่ (Excellence from anywhere)
ซึ่งองค์กรจะต้องมีความยืดหยุ่นในการอนุญาตให้พนักงานทำงานที่ไหนก็ได้ตราบที่ต้องการ โดยมีหลักคิดแห่งความสำเร็จคือผลลัพธ์ของงานที่ทำ ตำแหน่งที่ตั้งไม่สำคัญอีกต่อไป วัฒนธรรมที่ตระหนักถึงความเท่าเทียม การ reframing conversation ที่โฟกัสไปสู่ความสำเร็จ เป้าหมายและผลงาน
-
Engagement & Communication: หากไม่ได้พบเจอกันเลย องค์กรจะมีการจัดการหรือวิธีสื่อสารระหว่างกันอย่างไร
การประเมินผลการปฏิบัติงาน (brief performance evaluation) พูดคุยถึงปัญหาที่พบเจอ ตั้งเป้าหมายการปฏิบัติงานกับผู้นำในรูปแบบตัวต่อตัว (one-on-one) ซึ่งพนักงานจะได้รับความสนใจและการแก้ไขถึงแก่นลึกของปัญหา
นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงาน และผู้นำในองค์กรซึ่งแน่นอนที่สุดว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานแบบ maximize และก้าวสู่วัฒนธรรมการทำงานแห่งอนาคตอย่างยั่งยืน