เปลี่ยนข้อมูลเยอะแยะให้เข้าใจง่ายด้วย 13 infographics

💁  รวบรวมข้อมูลมาทั้งวัน จะเตรียมสไลด์เสนองานอย่างไรให้คนไม่หลับใส่
วันนี้ช่วง Design Friday พามาเลือก 13 infographics ให้เหมาะกับรูปแบบงานแต่ละประเภทของผู้อ่านกันนะคะ

1. Statistical Infographic (ข้อมูลเชิงสถิติ ตัวเลข)

ข้อมูลแบบนี้พบเห็นได้บ่อยไม่ว่าจะนักการตลาด หรือนักการเงิน มาแปลงข้อมูลทางตัวเลขเยอะๆ ข้อเท็จจริงที่ต้อง keep tracking หรือการให้ข้อมูลทางสถิติมาเป็นภาพ Visualized จะทำให้เข้าใจง่ายมากขึ้น

ตัวอย่าง: ข้อมูลทางประชากร, การแสดงข้อมูลยอดขายและ KPI แต่ละเดือนในรูปแบบ pile chart, bar graph, pictograph

2.Informational Infographic (แบบให้ข้อมูล)

information overload เป็นสิ่งที่เราเจอกันในชีวิตประจำวัน ข้อมูลเนื้อหายาวๆ อาจจะทำให้คนหันหนีเสียก่อน มาตัดเนื้อหาที่ไม่จำเป็น และทำให้บทความเรียบ ๆ ดูน่าสนใจด้วยการทำ Informational Infographic
ตัวอย่าง: วิธีตั้งเป้าหมายกับตัวเอง, เคล็ดลับการเป็นนักพูดที่ดี

3.How-To Infographic

ทุกครั้งที่เราซื้อเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ยักษ์ใหญ่จากสวีเดนอย่าง IKEA จะพบกับคู่มือการประกอบของสิ่งของชนิดนั้นแนบมาด้วย เพื่ออธิบายวิธีการทำบางสิ่งบางอย่างเป็น infographic เปลี่ยนข้อมูลซับซ้อนให้เข้าใจและจดจำได้ง่ายมากขึ้น
ตัวอย่าง: คู่มือการประกอบโซฟาเบด

4.Timeline Infographic (แบบเรียงลำดับเวลา)

การบอกเล่าเรื่องราว ไล่เรียงลำดับเหตุการณ์โดยใช้เส้นแทน “ระยะเวลา, ช่วงเวลา” ด้วย Timeline Infographic ที่จะทำให้คนรู้สึกสนุกและเป็นภาพจำแก่ผู้พบเห็น
ตัวอย่าง: ประวัติของบุคคล, เหตุการณ์และประวัติการก่อตั้งบริษัท, ไทม์ไลน์ของโครงการต่างๆ

5. Comparison Infographic / Versus Infographic (ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ)

หากต้องการเปรียบเทียบสิ่งสองสิ่งเป็นต้นไปในหมวดหมู่เดียวกัน ข้อดี-ข้อเสีย Comparison Infographic จะถูกเลือกใช้เป็นอันดับต้นๆ ทั้งยังทำให้ลูกค้าเห็นภาพชัดและนำไปสู่การตัดสินใจที่ง่ายขึ้น

ตัวอย่าง: การเปรียบเทียบการยิงแอด FB และ IG

6. Process Infographic (เล่ากระบวนการทำงาน)

Infographic ประเภทนี้เน้นเล่ากระบวนการทำงานเพื่อมองให้เห็นภาพมากขึ้น

ตัวอย่าง: การวางกลยุทธ์ทางตลาด, Customer Journey Map

7. Location Infographic (ข้อมูลเชิงสถานที่)

ใช้เมื่อต้องการแสดงข้อมูลจำพวกตำแหน่ง สถานที่ โดยเลือกตามscale ของข้อมูลที่มี

ตัวอย่าง: สัดส่วนประชากรในแต่ละพื้นที่ที่ติดโคโรนาไวรัส

8. Flowchart Infographic

เหมาะกับการนำเสนอแบบเป็นขั้นเป็นตอน สามารถเข้าใจว่ากระบวนการหนึ่งๆ ประกอบไปด้วยกิจกรรมหรือขั้นตอนย่อยอย่างไรบ้าง

9. Visualized Numbers Infographic

Infographic ที่ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ (typography) เพื่อเน้นและแสดงข้อมูลทางตัวเลข หรือสถิติที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้

ตัวอย่าง: การเปิดขึ้นต้นสไลด์เพื่อแสดงตัวเลขทางสถิติหรือตัวเลข

10. Hierarchical Infographic (เชิงเรียงลำดับความสำคัญ)

Infographic ประเภทนี้เน้นการจัดลำดับความสำคัญของข้อมูล สามารถแสดงให้เห็นลำดับความสำคัญของข้อมูลจากมากไปน้อย จะพบเห็นได้บ่อยในรูปทรงพีระมิด

11. Single Chart Infographic


เป็น infographic ที่ได้รับความนิยมมาก สามารถแสดงข้อมูลซับซ้อนให้ดูเข้าใจง่ายด้วย Chart เดียว

ตัวอย่าง: กราฟแสดงสัดส่วน% ของ application ที่ใช้งานบนมือถือ

12. Anatomical Infographic


เหมาะกับการอธิบายส่วนประกอบด้านในของสิ่งของบางสิ่ง สร้างภาพให้เห็นส่วนประกอบแต่ละส่วน

ตัวอย่าง: อธิบายส่วนประกอบด้านในของเครื่องคอมพิวเตอร์

13. Visual Resume Infographic


เปลี่ยน Resume ที่เรียบๆ มีแต่ตัวหนังสือให้ดูน่าสนใจ และโดดเด่นขึ้นด้วย visual resume

ตัวอย่าง: Resumeสมัครงาน
.
หวังว่า 13 infographics ที่ทาง BetterPitch มาแชร์ในวันนี้จะทำให้ผู้อ่านทุกคนทำงานง่ายกันมากขึ้นนะคะ
ข้อมูล: visme

Recommended Articles

Menu